วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apper ception)



ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception)


ทิศนา แขมมณี (2547)  ได้รวบรวมทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิดไว้ดังนี้ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Appereption หรือ Herbartianism) นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ  จอห์น ล็อค (John Locke)  วิลเฮล์ม วุนด์ (Wilhelm Wundt)  ทิชชเนอร์ (Titchener)  และแฮร์บาร์ต  (Herbart) ซึ่งมีความเชื่อดังนี้ (Bigge , 1964 : 33-47)
ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
                1) มนุษย์เกิดมาไม่มีความดีความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดได้จากแรงกระตุ้นภายนอก หรือสิ่งแวดล้อม (neutral - passive)
                2) จอห์น ล็อค  เชื่อว่าคนเราเกิดมาพร้อมกับจิตและสมองที่ว่างเปล่า (tabula rasa)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 การส่งเสริมให้บุคคลมีประสบการณ์มากๆ ในหลายๆทาง จึงเป็นการช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้
                3) วุนด์  เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบ 2 ส่วนคือ การสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และการรู้สึก (feeling)  คือการตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส
                4) ทิชเชเนอร์มีความเห็นเช่นเดียวกับวุนด์ แต่ได้เพิ่มส่วนประกอบของจิตอีก 1 ส่วน ได้แก่ จิตนาการ (imagination)
                5) แฮร์บาร์ต เชื่อว่าการเรียนรู้มี 3 ระดับ คือ ขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส (sense activity) ขั้นการจำความคิดเดิม (memory charcterized) และขั้นการเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจ (conceptual thinking or understanding)  การเรียนรู้เกิดขึ้นจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสั่งสมประสบการณ์ หรือความรู้เหล่านี้ไว้ การเรียนรู้นี้จะขยายขอบเขตออกไปเรื่อยๆเมื่อบุคคลได้รับประสบการณ์ความรู้เดิมเข้าด้วยกัน (appercetion)
                6) แฮร์บาร์ตเชื่อว่า การสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่ ต่อไปควรจะช่วยให้ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ จนได้ข้อสรุปที่ต้องการแล้วจึงให้ผู้เรียนนำข้อสรุปที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์ใหม่

หลักการจัดการศึกษา/การสอน
                1) การจัดให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
                2) การช่วยให้ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเป็นอย่างดี
                3) การสอนโดยดำเนินการตาม 5 ขั้นตอนของแฮร์บาร์ต จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีและรวดเร็ว ขั้นตอนดังกล่าวคือ
                   3.1 ขั้นเตรียมการหรือขั้นนำ (preparation) ได้แก่ การเร้าความสนใจของผู้เรียนและการทบทวนความรู้เดิม
                   3.2 ขั้นเสนอ (presentation) ได้แก่ การเสนอความรู้ใหม่
                   3.3 ขั้นการสัมพันธ์ความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ (comparison and abstraction)  ได้แก่ การขยายความรู้เดิมให้กว้างออกไป โดยสัมพันธ์ความรู้เดิมให้กว้างออกไป โดยสัมพันธ์ความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การเปรียบเทียบ การผสมผสาน ฯลฯ ทำให้ได้ข้อเท็จจริงใหม่ที่สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม
                   3.4 ขั้นสรุป (generalization) ได้แก่ การสรุปการเรียนรู้เป็นหลักการหรือกฎต่างๆ ที่สามารถจะนำไปประยุกต์ใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์อื่นๆต่อไป
                   3.5 ขั้นประยุกต์ใช้ (application) ได้แก่ การให้ผู้เรียนนำข้อสรุปหรือการเรียนรู้ที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ๆที่ไม่เหมือนเดิม


สยุมพร (https://www.gotoknow.org/posts/341272)  ได้กล่าวถึงทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception)ไว้ว่า  การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัสการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5  และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี


ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2546) ทฤษฎีการเชื่องโยงมีหลักเบื้องต้นว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่องโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง โดยแสดงในรูปแบบต่างๆ จนกว่าจะเป็นที่พอใจที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งเรียกว่า การลองถูกลองผิด ทฤษฎีการเชื่อมโยงจะเน้นเรื่องการฝึกหัดซ้ำและการให้การเสริมแรง ผู้เรียนจะต้องได้รับความช่วยเหลือในด้านการมองเห็นความแตกต่าง

สรุป
               จากการศึกษาทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception) เชื่อว่าการเรียนเกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้จะเกิดจากการได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และความรู้สึก คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัสการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง และเชื่อมโยงระหว่างความรู้เก่าที่อยู่อยู่ (ก่อนการเรียนรู้) กับความรู้ใหม่ (หลังจากการเรียนรู้) ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ที่มา
ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการ
               เรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร :
               สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สยุมพร ศรีมุงคุณ.(2554).https://www.gotoknow.org/posts/341272[Online]
                เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2561
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: 
                ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PROBLEM-BASED LEARNING)

การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ( PROBLEM-BASED LEARNING) การจัดการเรียนรู้ของครูที่เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ม...