วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561

การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PROBLEM-BASED LEARNING)


การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PROBLEM-BASED LEARNING)
การจัดการเรียนรู้ของครูที่เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning มีเทคนิคการสอน  ที่หลากหลายเพื่อให้เด็กเกิดทักษะต่างๆ ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต เน้นให้เด็กได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงและเรียนรู้จากสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันเพื่อให้ได้ฝึกทักษะการคิด โดยมีการวางเงื่อนไขและกติกาในการร่วมกิจกรรม ซึ่งกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้นเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการทำงานกลุ่ม การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ตลอดจนทักษะการสื่อสารที่ถือว่ามีความจำเป็นและสำคัญต่อการดำรงชีวิตอย่างมาก โดยเด็กจะเสนอสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ขึ้นมาและครูมีบทบาทเป็นผู้ชี้แนะ
การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ซึ่งในการจัดทำคู่มือจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานครั้งนี้ ขอนำเสนอสาระสำคัญเกี่ยวกับแนวคิดพื้นฐาน จุดมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้ ลักษณะของปัญหาในการจัดการเรียนรู้ การเตรียมตัวของครูก่อนการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ และบทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้
1. แนวคิดพื้นฐานของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเป็นจัดการเรียนรู้ที่เน้นในสิ่งที่เด็กอยากเรียนรู้ โดยสิ่งที่อยากเรียนรู้ดังกล่าวจะต้องเริ่มมาจากปัญหาที่เด็กสนใจหรือพบในชีวิตประจำวันที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทเรียน  อาจเป็นปัญหาของตนเองหรือปัญหาของกลุ่ม ซึ่งครูจะต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนการจัดการเรียนรู้ตามความสนใจของเด็กตามความเหมาะสม จากนั้นครูและเด็กร่วมกันคิดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหานั้น โดยปัญหาที่จะนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้บางครั้งอาจเป็นปัญหาของสังคมที่ครูเป็นผู้กระตุ้นให้เด็กคิดจากสถานการณ์ ข่าว เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะเน้นที่กระบวนการเรียนรู้ของเด็ก เด็กต้องเรียนรู้จากการเรียน (learning to learn) เน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนในกลุ่ม การปฏิบัติและการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning) นำไปสู่การค้นคว้าหาคำตอบหรือสร้างความรู้ใหม่บนฐานความรู้เดิมที่ผู้เรียนมีมาก่อนหน้านี้
2. จุดมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
รูปแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานมีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบให้แก่นักเรียนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา  การคิดสร้างสรรค์ คิดวิจารณญาณ การสืบค้นและรวบรวมข้อมูล กระบวนการกลุ่ม การบันทึกและการอภิปราย
3. ลักษณะของปัญหาในการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
·         เกิดขึ้นในชีวิตจริงและเกิดจากประสบการณ์ของผู้เรียนหรือผู้เรียนอาจมีโอกาสได้เผชิญกับ
ปัญหานั้น
·         เป็นปัญหาที่พบบ่อยมีความสำคัญมีข้อมูลเพียงพอสำหรับการค้นคว้า
·         เป็นปัญหาที่ยังไม่มีคำตอบชัดเจน ตายตัวหรือแน่นอนและเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนคลุมเครือหรือผู้เรียนเกิดความสงสัย
·         เป็นปัญหาที่มีประเด็นขัดแย้ง ข้อถกเถียงในสังคมยังไม่มีข้อยุติ
เป็นปัญหาที่อยู่ในความสนใจ เป็นสิ่งที่อยากรู้แต่ไม่รู้
·         ปัญหาที่สร้างความเดือดร้อน เสียหาย เกิดโทษ ภัย และเป็นสิ่งไม่ดี หากมีการนำข้อมูลมาใช้โดยลำพังคนเดียวอาจทำให้ตอบปัญหาผิดพลาด
·         ปัญหาที่ได้รับการยอมรับจากผู้อื่นว่าจริง ถูกต้อง แต่ผู้เรียนไม่เชื่อว่าจริง ยังไม่สอดคล้องกับความคิดของผู้เรียน
·         ปัญหาที่อาจมีคำตอบ หรือแนวทางการแสวงหาคำตอบได้หลายทางครอบคลุมการเรียนรู้ที่กว้างขวางหลากหลายเนื้อหา
·         เป็นปัญหาที่มีความยากง่ายเหมาะสมกับพื้นฐานของผู้เรียน
·         เป็นปัญหาที่ไม่สามารถหาคำตอบของปัญหาได้ทันที ต้องมีการสำรวจ ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล หรือทดลองดูก่อน จึงจะได้คำตอบ ไม่สามารถคาดเดา หรือทำนายได้ง่ายๆ ว่าต้องใช้ความรู้อะไร ยุทธวิธีในการสืบเสาะหาความรู้เป็นอย่างไร หรือคำตอบ หรือผลของความรู้เป็นอย่างไร
·         เป็นปัญหาที่ส่งเสริมความรู้ด้านเนื้อหา ทักษะ สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษา
4. การเตรียมตัวของครูก่อนการจัดการเรียนรู้
1) ศึกษาหลักสูตร เพื่อให้ครูเกิดความเข้าใจจุดประสงค์ของหลักสูตร ตลอดจนตัวชี้วัดและมาตรฐานการเรียนรู้ต่างๆอย่างละเอียดและสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางตามเป้าหมายการเรียนรู้ได้
2) วางแผนผังการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อเรื่องที่จะสอน โดยครูต้องหาความรู้ที่เชื่อมโยงกับเนื้อเรื่องในการกำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ คือมีการออกแบบกิจกรรมด้วยตนเอง ใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ชุมชนเพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ให้กับเด็ก ออกแบบกิจกรรมใช้สื่อให้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ทันกับคำตอบของเด็ก และเชื่อมโยงกับสิ่งที่เด็กเรียนรู้   โดยเน้นออกแบบกิจกรรมการสอนแบบบูรณาการรายวิชา
3)  ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม ครูผู้สอนต้องออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างรัดกุมให้รายละเอียดการจัดกิจกรรมที่ชัดเจน คือ         ไม่ว่าครูท่านใดอ่านแผนการจัดการเรียนรู้ แล้วสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนดังกล่าวได้
4) ครูผู้สอนสอบถามความต้องการในการเรียนและสร้างความคุ้นเคยกับนักเรียน ครูจะต้องสร้างความคุ้นเคยกับนักเรียนและถามความต้องการของนักเรียนว่าอยากเรียนอะไรในปีการศึกษานั้นเพื่อสำรวจความต้องการของผู้เรียนไว้เป็นแนวทางในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องระหว่างหลักสูตรและความต้องการของนักเรียน เพื่อความสะดวกในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความเหมาะสมและเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจสำหรับนักเรียนมากขึ้น
5. ขั้นตอนการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
สำหรับคู่มือการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานนี้ ได้นำขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยโครงการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบและภาคีที่เกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (มสส.) โดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้
1) ทดสอบความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาที่จะสอนก่อนเรียน เพื่อจะได้ทราบความรู้พื้นฐานของนักเรียนเป็นรายบุคคลในเรื่องดังกล่าว และเป็นแนวทางในการออกแบบหรือปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนด้วย
2) ให้ความรู้เบื้องต้นก่อนเริ่มกิจกรรมการเรียนรู้ ความรู้พื้นฐานจะนำไปสู่การเรียนรู้ของเด็กในกิจกรรมที่ต้องลงมือปฏิบัติ ดังนั้น ครูจึงต้องอธิบายเนื้อหาคร่าวๆ เพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจในเบื้องต้น
3) เปิดโอกาสให้เด็กเสนอสิ่งที่อยากเรียนรู้ โดยให้เด็กเขียนถึงสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ และสิ่งที่ตนเองเรียนรู้มาแล้ว สิ่งที่เด็กอยากเรียนรู้อาจเป็นปัญหาในชีวิตประจำวัน หรือปัญหาของชุมชน หรือแนวทางในการแก้ปัญหาที่ถูกกำหนดขึ้นในชั้นเรียน       ที่เด็กช่วยกันคิดและอยากลงมือปฏิบัติ
4) แบ่งกลุ่มเด็กในการทำกิจกรรม เพื่อให้เด็กรู้จักวางแผนคือ ให้เด็กรู้จักกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ของตนเอง โดยการทำปฏิทินการเรียนรู้ตามความต้องการในการเรียนของตน วิธีการดังกล่าวเพื่อให้เด็กรู้หน้าที่ของตนเองและในขณะเดียวกันสามารถแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้แก่ตนเองและเพื่อนในกลุ่มได้
5) สร้างกติกาในการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน เพื่อให้เด็กรู้จักเคารพในเงื่อนไขและกติกาที่กำหนดขึ้น โดยทุกคนในชั้นเรียนจะต้องยอมรับและปฏิบัติตาม
6) ให้เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ครูเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติได้กิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง โดยครูจะคอยเป็นผู้แนะนำ ตอบคำถามและสังเกตเด็กขณะทำกิจกรรม
7) ครูให้เด็กสรุปสิ่งที่เรียนรู้จากการทำกิจกรรมและให้เด็กได้นำเสนอผลงานของตน โดยครูเป็นผู้คอยสนับสนุนให้เกิดการนำเสนอที่หลากหลายรูปแบบและเป็นไปอย่างสร้างสรรค์  ไม่จำกัดแนวคิดในการนำเสนอ
8) ประเมินผลการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง ประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของเด็ก จากผลงานและพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกขณะร่วมกิจกรรม โดยกำหนดเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่จะสอนเป็นหลัก
6. การประเมินผลการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
การประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานควรจะมีการประเมินผลตามสภาพจริง มีการกำหนดเป้าหมายที่มีความสัมพันธ์ในการประเมิน ได้แก่ 1) ควรทำความเข้าใจด้านกระบวนการที่เกี่ยวกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) การพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน และ 3) สิ่งที่ได้รับจากเนื้อหาวิชา โดยทำการประเมินดังนี้
1) การประเมินตามสภาพจริง เป็นการวัดผลหรือประเมินผลการปฏิบัติงานของนักเรียนโดยตรงผ่านชีวิตจริง เช่น การดำเนินการด้านการสืบสวน ค้นคว้า การร่วมมือกันทำงานกลุ่มในการแก้ปัญหา การวัดผลจากการปฏิบัติงานจริง เป็นต้น
2) การสังเกตอย่างเป็นระบบ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับการประเมินผลในด้านทักษะกระบวนการของผู้เรียนในขณะเรียน ผู้สอนต้องมีการกำหนดเกณฑ์การประเมินให้ชัดเจน เช่น การแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์นั้น ควรมีการกำหนดเกณฑ์การประเมินไว้ ได้แก่ การสร้างปัญหาหรือคำถาม การสร้างสมมติฐาน การระบุตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม การอธิบายแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูล และการประเมินผลสมมติฐานบนพื้นฐานของข้อมูลที่ดี
7. บทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานครูผู้สอนจะทำหน้าที่สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน คอย  ให้คำปรึกษา กระตุ้นให้ผู้เรียนเอาความรู้เดิมที่มีอยู่มาใช้และเกิดการเรียนรู้โดยการตั้งคำถาม ส่งเสริมให้ผู้เรียนประเมินการเรียนรู้ของตนเอง รวมทั้งเป็นผู้ประเมินทักษะของผู้เรียนและกลุ่ม พร้อมให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการพัฒนาตนเอง
 ที่มา : https://candmbsri.wordpress.com/07/04/2015/การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน/. [ออนไลน์เข้าถึงเมื่อ 22 กรกฎาคม 2561

เทคนิควิธีการสอน

เทคนิควิธีการสอน
1. วิธีสอนแบบสาธิต (Demonstration Method)
2.  วิธีการสอนโดยใช้การแสดงละคร (Dramatization
3.  วิธีการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ  (Role Playing)
4. วิธีการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง  (Case)
5. วิธีการสอนโดยใช้เกม  (Game)
6. วิธีการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง  (Simulation)
7. วิธีการสอนมโนทัศน์ (Concept Attainment Model)
8.  วิธีการสอนแบบค้นพบความรู้
9.  วิธีการสอนตามแนวคิดของกานเย (Gagne’s Instructional Model)
10. การสอนแบบปฏิบัติการ
11. การสอนโดยใช้โสตทัศนูปกรณ์
12. การสอนแบบให้ผู้เรียนเสนอรายงานในชั้นเรียน
13. การสอนโดยใช้คำถาม
14. เทคนิคการใช้ผังกราฟิก  ( graphic  organizers )
15. การสอนแบบโครงการ (The Project Approach)
16. การสอนแบบมอนเตสซอรี่
17. การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน
18. นวัตกรรมกระบวนการกลุ่มแบบประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
19. การเรียนการสอนแบบบูรณาการ
20. วิธีสอนแบบขั้นทั้ง 4 ของอริยสัจสี่  (ดรสาโรช บัวศรี)
21. การจัดการเรียนการสอนแบบประสบการณ์ (Experiential Learning )
          ที่มา: https://sites.google.com/site/acadedmsu/xeksar-fay-wichakar. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2561


เทคนิคการสอนแบบต่างๆ สำหรับครูมืออาชีพ
1. การจัดการเรียนรู้แบบบรรยาย (Lecture Method)
2. การจัดการเรียนรู้แบบอภิปราย (Discussion Method)
3. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion)
4. การจัดการเรียนรู้แบบสาธิต (Demonstration Method)
5. การจัดการเรียนรู้แบบแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) 
6. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การแสดงละคร (Dramatization)
7. การจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง (Simulation) 
8. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม (Game)
9. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ (Process)
10.การจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่ม (Group Process)
11.การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค (Team Games Tournament)
12.การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคจิกซอว์ (Jigsaw)
13.การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integration)
14.การจัดการเรียนรู้แบบ Storyline (Storyline)
15.การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
         ที่มา: https://blog.eduzones.com/moobo/132517. (2557). [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อวันที่14 กรกฎาคม 2561

รูปแบบการสอนสำหรับผู้สอนมืออาชีพ
1. การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม (Questioning Method)
2. วิธีสอนแบบโมเดลซิปปา
3. วิธีสอนแบบโครงงาน(Project Method)
4. การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
5. การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method)
6. การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย (Deductive  Method)
7. การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย (Induction  Method)
8. การพัฒนาทักษะ/กระบวนการแก้ปัญหา
9. การพัฒนาทักษะ/กระบวนการให้เหตุผล
10. การพัฒนาทักษะ/กระบวนการสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์  และการนำเสนอ
11. การค้นหารูปแบบ (Pattern  Seeking)
12. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry  Process)
13. วิธีสอนแบบอุปนัย (Inductive Method)
14. วิธีสอนแบบนิรนัย (Deductive Method)
15. วิธีสอนแบบอภิปราย (Discussion Method)
16. วิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวน
17. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน (Committee Work Method)
18. วิธีสอนแบบหน่วย (Unit Teaching Method)
19. วิธีสอนแบบแสดงบทบาท (Role Playing Method)
20. วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
21. วิธีสอนแบบบรรยาย (Lecture Method)
22. วิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลอง (Laboratory Method)
23. วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง (Self Study Method)
24. วิธีสอนตามคาดหวัง (Expectation Method)
25. วิธีสอนแบบโซเครติส (Socretis Method) 
26. วิธีสอนแบบประสาทสัมผัส ( Method of Sense Realism)
27. วิธีสอนด้วยสิ่งของหรือวัตถุ
28. วิธีสอนแบบแฮร์บาร์ต (Herbart Method)
29. วิธีสอนแบบกิจกรรม (Self-Activity Method)
29. วิธีสอนแบบแก้ปัญหา (Problem-Solving Method)
30. กระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 โดยสาโรช บัวศรี
31. วิธีสอนแบบโครงการ (Project Method)
32. วิธีสอนแบบดัลตัน (Dalton Laboratory Plan)
33. วิธีสอนแบบวินเนทก้า (The Winnetka Plan)
34. วิธีสอนแบบนิเทศ (Supervised Plan)
35. วิธีสอนแบบใช้ครูพี่เลี้ยง (Tutorial Method)
36. วิธีสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุ  (Audio-Visual Meterial of Instruction Method)
37. วิธีสอนแบบทีม (Team Teaching Method)
38. วิธีสอนแบบจุลภาค (Micro-Teaching Method)
39. วิธีสอนแบบอริยสัจ 
40. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มระดมพลังสมอง
41. วิธีสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท (Explicit Teaching Method)
42. วิธีสอนแบบสาธิต
43. วิธีการสอนแบบทดลอง
44. การสอนแบบบูรณาการ (Integration Instruction) 
45. การสอนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
46. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ แอล.ที. ( L.T )
47. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ จี.ไอ. ( G.I. )
48. การเรียนการสอนของรูปแบบ เอส.ที.เอ.ดี. ( STAD )
49. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบจิ๊กซอร์ ( Jigsaw )
50. รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
51. การสอนแบบเอกัตภาพ ( Individualized Instruction )
52. การสอนภาษาโดยใช้เนื้อหาเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ภาษา (Content – Based Instruction)
53. การสอนแบบวิธีธรรมชาติ ( Natural Method )
54. การสอนแบบชุมชนเป็นฐาน
           ที่มา: https://www.google.co.th/url?รูปแบบการสอนสำหรับผู้สอนมืออาชีพ. (2559). [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2561

สรุปรวบรวมเทคนิควิธีการสอนทั้งหมด 72 รูปแบบ
1. การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม (Questioning Method)
2. วิธีสอนแบบโมเดลซิปปา
3. วิธีสอนแบบโครงงาน(Project Method)
4. การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
5. การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method)
6. การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย (Deductive  Method)
7. การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย (Induction  Method)
8. การพัฒนาทักษะ/กระบวนการแก้ปัญหา
9. การพัฒนาทักษะ/กระบวนการให้เหตุผล
10. การพัฒนาทักษะ/กระบวนการสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์  และการนำเสนอ
11. การค้นหารูปแบบ (Pattern  Seeking)
12. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry  Process)
13. วิธีสอนแบบอุปนัย (Inductive Method)
14. วิธีสอนแบบนิรนัย (Deductive Method)
15. วิธีสอนแบบอภิปราย (Discussion Method)
16. วิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวน
17. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน (Committee Work Method)
18. วิธีสอนแบบหน่วย (Unit Teaching Method)
19. วิธีสอนแบบแสดงบทบาท (Role Playing Method)
20. วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
21. วิธีสอนแบบบรรยาย (Lecture Method)
22. วิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลอง (Laboratory Method)
23. วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง (Self Study Method)
24. วิธีสอนตามคาดหวัง (Expectation Method)
25. วิธีสอนแบบโซเครติส (Socretis Method) 
26. วิธีสอนแบบประสาทสัมผัส ( Method of Sense Realism)
27. วิธีสอนด้วยสิ่งของหรือวัตถุ
28. วิธีสอนแบบแฮร์บาร์ต (Herbart Method)
29. วิธีสอนแบบกิจกรรม (Self-Activity Method)
29. วิธีสอนแบบแก้ปัญหา (Problem-Solving Method)
30. กระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 โดยสาโรช บัวศรี
31. วิธีสอนแบบโครงการ (Project Method)
32. วิธีสอนแบบดัลตัน (Dalton Laboratory Plan)
33. วิธีสอนแบบวินเนทก้า (The Winnetka Plan)
34. วิธีสอนแบบนิเทศ (Supervised Plan)
35. วิธีสอนแบบใช้ครูพี่เลี้ยง (Tutorial Method)
36. วิธีสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุ  (Audio-Visual Meterial of Instruction Method)
37. วิธีสอนแบบทีม (Team Teaching Method)
38. วิธีสอนแบบจุลภาค (Micro-Teaching Method)
39. วิธีสอนแบบอริยสัจ 
40. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มระดมพลังสมอง
41. วิธีสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท (Explicit Teaching Method)
42. วิธีสอนแบบสาธิต
43. วิธีการสอนแบบทดลอง
44. การสอนแบบบูรณาการ (Integration Instruction) 
45. การสอนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
46. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ แอล.ที. ( L.T )
47. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ จี.ไอ. ( G.I. )
48. การเรียนการสอนของรูปแบบ เอส.ที.เอ.ดี. ( STAD )
49. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบจิ๊กซอร์ ( Jigsaw )
50. รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
51. การสอนแบบเอกัตภาพ ( Individualized Instruction )
52. การสอนภาษาโดยใช้เนื้อหาเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ภาษา (Content – Based Instruction)
53. การสอนแบบวิธีธรรมชาติ ( Natural Method )
54. การสอนแบบชุมชนเป็นฐาน
55. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion)
56. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การแสดงละคร (Dramatization)
57. การจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง (Simulation) 
58. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม (Game)
59. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ (Process)
60. การจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่ม (Group Process)
61. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค (Team Games Tournament)
62. การจัดการเรียนรู้แบบ Storyline (Storyline)
63. วิธีการสอนมโนทัศน์ (Concept Attainment Model)
64. วิธีการสอนแบบค้นพบความรู้
65. วิธีการสอนตามแนวคิดของกานเย (Gagne’s Instructional Model)
66. การสอนแบบปฏิบัติการ
67. การสอนแบบให้ผู้เรียนเสนอรายงานในชั้นเรียน
68. เทคนิคการใช้ผังกราฟิก  ( graphic  organizers )
69. การสอนแบบมอนเตสซอรี่
70. นวัตกรรมกระบวนการกลุ่มแบบประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
71. วิธีสอนแบบขั้นทั้ง 4 ของอริยสัจสี่   (ดรสาโรช บัวศรี)
72. การจัดการเรียนการสอนแบบประสบการณ์ (Experiential Learning )

แหล่งอ้างอิง

     https://sites.google.com/site/acadedmsu/xeksar-fay-wichakar. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2561
     https://blog.eduzones.com/moobo/132517. (2557). [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2561
     https://www.google.co.th/url?รูปแบบการสอนสำหรับผู้สอนมืออาชีพ. (2559). [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2561

การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PROBLEM-BASED LEARNING)

การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ( PROBLEM-BASED LEARNING) การจัดการเรียนรู้ของครูที่เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ม...